วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

วานรสิบแปดมงกุฏ ( ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ )

สิบแปดมงกุฎ


           ในหนังสือ ” สำนวนไทย ” ของ ขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธ์ ) เขียนไว้ว่า สิบแปดมงกุฎ นำมาใช้เป็นสำนวนในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีนักเลงการพนันใหญ่ลือชื่อพวกหนึ่ง กล่าวกันว่า เป็นนักเลงชั้นยอด สักตามตัวเป็น วานรสิบแปดมงกุฏ จึงเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ตามเรื่องราวในรามเกียรติ์ จากนั้นถ้าใครเป็นนักเลงการพนันก็เลยเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ
        ทุกวันนี้ สิบแปดมงกุฎ มิใช่สำนวนที่ใช้เรียกพวกนักเลงพนันเท่านั้น แต่ใช้เรียกพวกมิจฉาชีพทั้งหลาย เป็นสำนวนที่พบเห็นบ่อยมากตามสื่อมวลชนต่างๆ ซึ่งมีความหมายถึงพวกที่ยักยอก ต้มตุ๋น หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อแล้วยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินผู้อื่นมาเป็นของตน
วานรสิบแปดมงกุฏ
      วานรสิบแปดมงกุฏ เป็น วานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และ มาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือ ท้าวทศรถ
       เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู

          เมื่อนั้นฝูงเทพเทวาน้อยใหญ่
ต่างทูลอาสาพระภูวไนยจะขอไปเป็นพลพระอวตาร
ล้างเหล่าอสุระพาลาที่หยาบช้าเบียนทุกสถาน
พระราหูฤทธิไกรไชยชาญเป็นทหารชื่อนิลปานัน
พระพินายนั้นเป็นนิลเอกพระพิเนกนั้นเป็นนิลขัน
พระเกษเป็นเสนีกุมิตันพระอังคารเป็นวิสันตราวี
พระหิมพานต์จะเป็นโกมุทพระสมุทนิลราชกระบี่ศรี
พระเพลิงเป็นนิลนนมนตรีพระเสารีเป็นนิลพานร
พระศุกร์เป็นนิลปานันพระพฤหัสมาสุนห์เกสร
พระพุฒเป็นสุรเสนฤทธิรอนพระจันทร์เป็นสัตพลี
วิรุณหกวิรุณปักสองตระกูลเป็นเกยูรมายูรกระบี่ศรี
เทวันวานรนอกนี้บัญชีเจ็ดสิบสมุดตราฯ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น